ค้นหา

a day of mine

my blog, it just a story I want to share…. it’s what I see, what I read, what I feel and what I just recall ….. I write down and hope these moments will not pass away.

ป้ายกำกับ

japanese

ผันคำกริยาเป็นปฏิเสธ [Negative Verbs]

คราวที่แล้วอ่านเรื่องคำกริยา u-verbs กับ ru-verbs ไป พอรู้เรื่องคำกริยาก็ทำให้เราบอกได้ว่าใครทำอะไร แต่ถ้าจะบอกว่า ไม่ได้ทำอะไร เลยต้องมาเรียนรู้การผันคำกริยาเป็นรูปปฏิเสธกันก็คราวนี้

กฏการผันคำกริยา (verb) ในรูปปฏิเสธ [negative verbs form]

กลุ่มพิเศษ (Exceptions):

  1. する → しない    する (exception) – to do
  2. 来る → こない  【く・る】 (exception) – to come

อ่านเพิ่มเติม “ผันคำกริยาเป็นปฏิเสธ [Negative Verbs]”

Basic Grammar: Expressing state-of-being

เริ่มต้นส่วนของไวยากรณ์ในบทเรียนของ Tae Kim

วันนี้ว่าด้วยเรื่อง Expressing state-of-being ไม่รู้จะแปลเป็นภาษาไทยว่าอะไร แต่คิดว่าคล้ายๆ กับประโยคบอกเล่า ล่ะมั้ง

Declaring something is so and so using 「だ」

ภาษาญี่ปุ่นไม่มี verb to be เหมือนในภาษาอังกฤษ ดังนั้นเวลาจะบอกว่าอะไรคืออะไรจะใช้ Hiragana /da/ ต่อท้าย คำนาม [noun] หรือ na-adjective เท่านั้น** เช่น อ่านเพิ่มเติม “Basic Grammar: Expressing state-of-being”

คันจิ kanji 

คันจิ อ่านได้ 2 แบบ คือแบบ ON กับ KUN

ON คือวิธีอ่านแบบ จีน เขียนด้วยตัว kata  หรือถ้าเป็น romaji จะใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เขียน

KUN คือวิธีอ่านแบบ ญี่ปุ่น เขียนด้วยตัว hira หรือถ้าเป็น romaji จะเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็ก

วิธีการคร่าวๆ ก็คือ

  1. ตัวคันจิเดี่ยวๆ จะอ่านแบบ KUN เช่น 「kokoro」แปลว่า หัวใจ
  2. คำที่เรียกว่า okurigana** จะอ่านแบบ KUN เช่น 悟り「sato・ri」แปลว่า ความเข้าใจ, แสงสว่าง
  3. คำที่ประกอบด้วยตัวคันจิผสมกัน จะอ่านแบบ ON เช่น 見性「ken・shou」แปลว่า ความเข้าใจ, แสงสว่าง
  4. ชื่อคนจะอ่านด้วย KUN เช่น 山田「yamada」

** okurigana ก็คือ คำที่เป็นตัวคันจิผสมกับตัวฮิรากานะ เช่น 悟り「sato・ri」

คร่าวๆแค่นี้ล่ะนะ

ア、イ、ウ、エ、オ ตัวเล็ก

อย่างที่รู้ๆว่าภาษาต่างประเทศจะเขียนโดยใช้ตัวคาตาคานะ และสียงที่มีในภาษาญี่ปุ่นก็ไม่ค่อยครอบคลุมเท่าไหร่ ในยุคหลังๆเลยมีการคิดวิธีขึ้น

หลักการก็คือการเอาเสียงสละที่มีอยู่แล้ว คือ ア、イ、ウ、エ、オ แต่เขียนเป็นตัวเล็ก ไปรวบกับพยัญชนะที่มีอยู่เพื่อสร้างเป็นเสียงใหม่ขึ้นมา เช่น ティ / ti /

เสียงที่เพิ่มเข้ามา ตามตารางด้านล่าง

อ่านเพิ่มเติม “ア、イ、ウ、エ、オ ตัวเล็ก”

เกี่ยวกับเสียงยาว

วันนี้เริ่มต้นอ่าน Tae Kim’s Guide to Learning Japanese : Grammar guide
เนื้อหาก็เริ่มจากฮิรากานะ, คาตาคานะ เหมือนกับที่ผ่านมา แต่รู้สึกเหมือนเว็บนี้จะค่อนข้างละเอียด เข้าใจง่าย ที่สำคัญคือฟรีด้วย
จริงๆเจอเว็บนี้ตั้งแต่ตอนที่สนใจภาษาญี่ปุ่นแรกๆแล้ว ตอนนั้นอ่านจากแอพในโทรศัพท์ ตัวหนังสือมันเยอะ ก็เลยหมดความพยายามไป ตอนนี้มาลองอ่านผ่านคอม ก็น่าสนใจขึ้น เพราะมีวิดีโอให้ดู แล้วก็รู้สึกว่าไม่ปวดตาเท่าไหร่ แถมยังมีบทเรียนใน memrise ด้วย

อ่านเพิ่มเติม “เกี่ยวกับเสียงยาว”

แกรมม่าภาษาญี่ปุ่น เริ่มต้นแบบคร่าวๆ

อ่านคอร์สใน memrise ชื่อ Beginners Japanese Grammar 1 (JLPT N5 Grammar) โดย JTalkOnline คลิ๊กตามลิงค์ไปได้แกรมม่าเบื่องต้นมานิดหน่อยจาก jtalkonline.blogspot.com

ตามนี้…

ประโยคพื้นฐานในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วย ประธาน + กรรม + กริยา [subject+object+verb] โดยจะมี ‘ตัวเชื่อม’ [particles] อยู่ระหว่างคำเพื่อบอกว่าเรากำลังพูดถึงอะไรอยู่ เช่น わたしほんあります แปลว่า ฉันมีหนังสือ หรือ ฉัน หนังสือ มี
ในประโยคที่ไม่มีคำกริยา (V) จะลงท้ายประโยคด้วย ”です”「DESU」
(คิดซะว่าเป็นเครื่องหมาย . หรือ full stop ก็ได้)

อ่านเพิ่มเติม “แกรมม่าภาษาญี่ปุ่น เริ่มต้นแบบคร่าวๆ”

เรียนคำศัพท์แบบไม่เบื่อกับ memrise

หลายวันก่อน เปิดไปเจอเว็บนึงคือ memrise.com เป็นเว็บเครื่องมือสอนภาษา เข้าไปดูแล้วชอบมาก เพราะรู้สึกว่าช่วยให้จำศัพท์ได้ง่ายขึ้น แถมมีหลายภาษาให้เลือกเรียนด้วย

เริ่มจากสมัครสมาชิกก่อน แล้วเลือกภาษาที่สนใจได้เลย อย่างตอนนี้เราสนใจภาษาญี่ปุ่น พอเลือกเข้าไปก็จะมีหลายๆครอสให้เลือก

อ่านเพิ่มเติม “เรียนคำศัพท์แบบไม่เบื่อกับ memrise”

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑